วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

การรักษาความปลอดภัยในการใช้สารสนเทศ


เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) คือ เทคโนโลยีสองด้านหลักๆ ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
                  เทคโนโลยี่สารสนเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก  ตัวอย่างเช่น
1.  การศึกษา  เทคโนโลยีสารสนเทศ  ช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล      ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด   ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย
2.  การดำรงชีวิตประจำวัน  ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน  สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง
3.  การดำเนินธุรกิจ  ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น  ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
อันส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง
4.  อัตราการขยายตัวทุก ๆ ด้านที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  เพราะมีการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าทันสมัย  รวดเร็วถูกต้องและ    ทำให้
เป็นโลกที่ไร้พรหรมแดน
5.  ระบบการทำงานมีคอมพิวเตอร์มาใช้ซื่อสามารถทำงานได้มากขึ้น   งานบางอย่างมนุษย์ทำไม่ได  ้ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของจังหวัดมหาสารคาม

พระธาตุนาดูน
Imageประวัติความเป็นมาของพุทธมณฑลอีสาน พระธาตุนาดูน
      ในปีพุทธศักราช 2522 กรมศิลปากรและราษฎร์ในตำบลนาดูนได้ขุดพบพระบรมสารีริกธาตุจากเนินดินที่เป็นซากโบราณสถาน ในบริเวณที่นาของราษฎร์ ท้องที่หมู่ที่ 1 ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม พระบรมสารีริกธาตุมีสัณฐานดังเกล็ดแก้วประดิษฐ์สถานในผอบ 3 ชั้น ชั้นในเป็นทองคำ ชั้นกลาวงเป็นเงิน ชั้นนอกเป็นสำริด สวดซ้อนกันเรียงตามลำดับ และบรรจุอยู่ในสถูปจำลองอีกชั้นหนึ่ง เป็นสถูปโลหะ ทรงกลมสูง 24.4 เซนติเมตร ถอดออกเป็น 2 ส่วน ส่วนยอดสูง 12.3 เซนติเมตร ส่วนองค์สถูปสูง 12.1 เซนติเมตร

พระพุทธมิ่งเมือง
Imageพระพุทธมิ่งเมืองหรือพระพุทธรูปสุวรรมาลี
อยู่ในเขตตำบลโคกพระ ใช้ทางหลวงหมายเลข 213 (มหาสารคาม-กาฬสินธุ์) อยู่ห่างตัวเมืองราว 14 กิโลเมตรเป็นพระพุทธรูปสร้างด้วยหินทรายแดงสมัยทวาราวดี มีความศักดิ์สิทธิ์มากชาวมหาสารคามให้ความเคารพนับถือว่าสามารถดลบันดาลให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลครับ






กู่สันตรัตน์
Imageกู่สันตรัตน์ เป็นโบราณสถานสร้างด้วยศิลาแลง พบอยู่บริเวณนอกเมืองโบราณ นครจำปา-ศรี ที่ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม แบบแผนผัง และรูปประติมากรรมที่พบ สันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 18 ตรงกับรัชสมัยพระเจ้า-ชัยวรมันที่ 7 ของอาณาจักรขอม





ป่าดูนลำพันและปูทูลกระหม่อม
Imageป่าดูนลำพัน  ตั้งอยู่ที่บ้านนาเชือก หมู่ที่ 1 ตำบลนาเชือก  อำเภอนาเชือก  จังหวัดมหาสารคาม  อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาเชือกไปทางทิศใต้ ประมาณ 3 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด ประมาณ 311 ไร่ แตกต่างจากป่าทั่วไป คือ เป็นป่าน้ำซับ หรือป่าพรุน้ำจืด กล่าวคือ มีน้ำผุดขึ้นมาจากใต้ดินตลอดปี ดูน เป็นภาษาท้องถิ่น หมายถึง การดันของน้ำใต้ดิน ลำพัน คือ พืชตะกูลหญ้า คล้ายต้นกก บางท้องที่เรียกว่า ธูปฤๅษี ซึ่งมีมากในป่าดูนลำพัน โดยเฉพาะบริเวณที่มีน้ำขัง



หมู่บ้านปั้นหม้อ
Imageอยู่ตำบลเขวา อำเภอเมืองมหาสารคาม ห่างจากตัวจังหวัดไปตามทางหลวงสายมหาสารคาม – ร้อยเอ็ด ประมาณ 4 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ชาวบ้านมีอาชีพปั้นหม้อดินเผา ซึ่งชาวอีสานใช้ใส่น้ำและเป็นภาชนะในการปรุงอาหาร คนในหมู่บ้านส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัดนครราชสีมา ยึดการปั้นหม้อเป็นอาชีพหลัก การทำนาเป็นอาชีพรอง ดินที่ใช้ปั้นหม้อได้จากหนองน้ำใกล้หมู่บ้าน เรียกว่า หนองเบ็น การปั้นหม้อ ยังใช้กรรมวิธีแบบดั้งเดิมด้วยการนำดินมาขึ้นรูปปากหม้อก่อน แล้วใช้ความชำนาญของมือและเข่าหมุนวนเพื่อขดปากหม้อให้กลมโดยไม่ใช้แป้นหมุนใช้แบนไม้ตีด้านนอก อีกมือหนึ่งใช้หินดุ (ดินเผารูปโค้งมน) ดุนไว้ภายในหม้อ ตีผิวให้ได้ความหนาสม่ำเสมอจนจดก้นหม้อ ขัดผิวให้เรียบด้วยน้ำโคลนเหลว ผึ่งลมไว้ 2 – 3 วัน จึงนำไปเผา






จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
              
  
               เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีความสามารถในการใช้งานมากขึ้น ผลของการพัฒนา ทำให้มีการประยุกต์ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง จนอาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกคนไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
              ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศมีทั้งทางบวกและทางลบ ทางบวกทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ดีช่วยส่งเสริมให้มี ประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้เกิดการผลิตในอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้เกิดกาค้นคว้าวิจัยสิ่งใหม่ ส่งเสริมสุขภาพและ ความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ทางลบทำให้เกิดอาชญากรรม ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย ทำให้เกิดการเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ข้อมูลข่าวสารของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล หากข้อมูลเกิดการสูญหาย ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามคำสั่ง การนำมาใช้ในทางใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องปลูกฝังให้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อให้รู้จักการใช้งานที่เหมาะสม ในเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศก็จำเป็นต้องปลูกฝังเช่นเดียวกัน เพื่อให้ผู้ใช้นำไปใช้งานที่เป็นประโยชน์เชิงสร้างสรรค์หรือทางบวก มิใช่นำไปใช้ในทางที่ไม่ดีอย่างเช่นที่เกิดขึ้นเสมอๆ

นิโคลา เทสลา นักวิทยาศาสตร์


นิโคลา เทสลา (เซอร์เบียНикола Тесла, Nikola Tesla) เกิดเมื่อ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2399 - ถึงแก่กรรม 7 มกราคม พ.ศ. 2486 (86 ปี) เป็นนักประดิษฐ์ นักฟิสิกส์ วิศวกรเครื่องกล และวิศวกรไฟฟ้าที่เปี่ยมด้วยอัจฉริยภาพ มักได้รับการยกย่องเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในประวัติศาสตร์เทคโนโลยี
นอกจากนี้ เทสลายังถือเป็นวิศวกรที่สร้างนวัตกรรมล้ำยุคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สิทธิบัตรของเทสลาและผลงานเชิงทฤษฎีของเขากลายเป็นพื้นฐานของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ได้แก่ ระบบจ่ายกำลังหลายเฟส และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งเขามีส่วนผลักดันเป็นอย่างมากในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง

ผลงานเด่น

  1. ผู้ประดิษฐ์ขดลวดเทสลา (Tesla coil) และค้นพบวิธีการเปลี่ยนสนามแม่เหล็กเป็นสนามไฟฟ้า จึงเป็นที่มาของหน่วยวัดสนามแม่เหล็กเทสลา
  2. ผู้ค้นพบวิธีการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless communication)                                                                                                     เกียรติคุณและอนุสรณ์                                                                                                                                 ภาพของเทสลาบนธนบัตรต่าง ๆ