วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของจังหวัดมหาสารคาม

พระธาตุนาดูน
Imageประวัติความเป็นมาของพุทธมณฑลอีสาน พระธาตุนาดูน
      ในปีพุทธศักราช 2522 กรมศิลปากรและราษฎร์ในตำบลนาดูนได้ขุดพบพระบรมสารีริกธาตุจากเนินดินที่เป็นซากโบราณสถาน ในบริเวณที่นาของราษฎร์ ท้องที่หมู่ที่ 1 ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม พระบรมสารีริกธาตุมีสัณฐานดังเกล็ดแก้วประดิษฐ์สถานในผอบ 3 ชั้น ชั้นในเป็นทองคำ ชั้นกลาวงเป็นเงิน ชั้นนอกเป็นสำริด สวดซ้อนกันเรียงตามลำดับ และบรรจุอยู่ในสถูปจำลองอีกชั้นหนึ่ง เป็นสถูปโลหะ ทรงกลมสูง 24.4 เซนติเมตร ถอดออกเป็น 2 ส่วน ส่วนยอดสูง 12.3 เซนติเมตร ส่วนองค์สถูปสูง 12.1 เซนติเมตร

พระพุทธมิ่งเมือง
Imageพระพุทธมิ่งเมืองหรือพระพุทธรูปสุวรรมาลี
อยู่ในเขตตำบลโคกพระ ใช้ทางหลวงหมายเลข 213 (มหาสารคาม-กาฬสินธุ์) อยู่ห่างตัวเมืองราว 14 กิโลเมตรเป็นพระพุทธรูปสร้างด้วยหินทรายแดงสมัยทวาราวดี มีความศักดิ์สิทธิ์มากชาวมหาสารคามให้ความเคารพนับถือว่าสามารถดลบันดาลให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลครับ






กู่สันตรัตน์
Imageกู่สันตรัตน์ เป็นโบราณสถานสร้างด้วยศิลาแลง พบอยู่บริเวณนอกเมืองโบราณ นครจำปา-ศรี ที่ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม แบบแผนผัง และรูปประติมากรรมที่พบ สันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 18 ตรงกับรัชสมัยพระเจ้า-ชัยวรมันที่ 7 ของอาณาจักรขอม





ป่าดูนลำพันและปูทูลกระหม่อม
Imageป่าดูนลำพัน  ตั้งอยู่ที่บ้านนาเชือก หมู่ที่ 1 ตำบลนาเชือก  อำเภอนาเชือก  จังหวัดมหาสารคาม  อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาเชือกไปทางทิศใต้ ประมาณ 3 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด ประมาณ 311 ไร่ แตกต่างจากป่าทั่วไป คือ เป็นป่าน้ำซับ หรือป่าพรุน้ำจืด กล่าวคือ มีน้ำผุดขึ้นมาจากใต้ดินตลอดปี ดูน เป็นภาษาท้องถิ่น หมายถึง การดันของน้ำใต้ดิน ลำพัน คือ พืชตะกูลหญ้า คล้ายต้นกก บางท้องที่เรียกว่า ธูปฤๅษี ซึ่งมีมากในป่าดูนลำพัน โดยเฉพาะบริเวณที่มีน้ำขัง



หมู่บ้านปั้นหม้อ
Imageอยู่ตำบลเขวา อำเภอเมืองมหาสารคาม ห่างจากตัวจังหวัดไปตามทางหลวงสายมหาสารคาม – ร้อยเอ็ด ประมาณ 4 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ชาวบ้านมีอาชีพปั้นหม้อดินเผา ซึ่งชาวอีสานใช้ใส่น้ำและเป็นภาชนะในการปรุงอาหาร คนในหมู่บ้านส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัดนครราชสีมา ยึดการปั้นหม้อเป็นอาชีพหลัก การทำนาเป็นอาชีพรอง ดินที่ใช้ปั้นหม้อได้จากหนองน้ำใกล้หมู่บ้าน เรียกว่า หนองเบ็น การปั้นหม้อ ยังใช้กรรมวิธีแบบดั้งเดิมด้วยการนำดินมาขึ้นรูปปากหม้อก่อน แล้วใช้ความชำนาญของมือและเข่าหมุนวนเพื่อขดปากหม้อให้กลมโดยไม่ใช้แป้นหมุนใช้แบนไม้ตีด้านนอก อีกมือหนึ่งใช้หินดุ (ดินเผารูปโค้งมน) ดุนไว้ภายในหม้อ ตีผิวให้ได้ความหนาสม่ำเสมอจนจดก้นหม้อ ขัดผิวให้เรียบด้วยน้ำโคลนเหลว ผึ่งลมไว้ 2 – 3 วัน จึงนำไปเผา





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น